top of page
Image by Himiway Bikes

รับประกันหลังการขาย

ธุรกิจบริการที่ให้การรับประกันจำเป็นต้องบันทึก “ประมาณการหนี้สิน” ในงบการเงิน เนื่องจากการรับประกัน ถือเป็นภาระผูกพันที่อาจต้องใช้เงินจ่ายในอนาคต หากลูกค้ามาเคลมสินค้าหรือบริการที่ชำรุด การไม่บันทึกภาระผูกพันจากการรับประกัน อาจทำให้ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจสถานะทางการเงินของกิจการผิดพลาด และอาจนำไปสู่การตัดสินใจทางธุรกิจที่ไม่ถูกต้องได้

ลักษณะของการรับประกันการชำรุด

ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจลักษณะของการรับประกันกันก่อนว่าคืออะไร 

การรับประกัน คือ การสัญญาว่าจะชดใช้ หรือซ่อมให้ หากทรัพย์สินตามสัญญาชำรุดบกพร่อง โดยเหตุตามสัญญา และตามระยะเวลาที่กำหนด

ยกตัวอย่างเช่น บริษัทให้บริการซ่อมเครื่องจักร และประกันให้ว่าหากทำตามคู่มือที่กำหนดแล้ว เครื่องจักรเสียหายเองจากการใช้งานปกติ บริษัทจะรับซ่อมให้ฟรีภายใน 1 ปี

ลักษณะของการรับประกันในงานบริการ “หลังจบบริการแล้ว” ถือเป็นภาระผูกพันทางบัญชี เนื่องจากกิจการได้มีการให้คำสัญญาว่า จะชดเชยหรือซ่อมแซมให้ หากในอนาคตเกิดเหตุบกพร่องตามสัญญานั้น

เมื่อกิจการมีภาระผูกพัน จึงต้องประเมินการตั้งประมาณการหนี้สิน (Provision) ไว้นั่นเอง

การรับประกันสินค้าของเรา มีดังนี้

เข้าใจประมาณการหนี้สิน

ตัวอย่างการบันทึกประมาณการหนี้สินจากการรับประกันงานบริการ

 ผลกระทบต่อการวิเคราะห์งบการเงิน

ประมาณการหนี้สิน หมายถึง หนี้สินหรือภาระผูกพันปัจจุบันที่มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจังหวะเวลา หรือจำนวนที่ต้องจ่ายชำระ

ตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน TFRS for NPAEs กล่าวไว้ว่า เจ้าของกิจการจะต้องตั้งประมาณการหนี้สินในงบการเงิน

เจ้าของกิจการที่อ่านกันมาถึงตรงนี้ น่าจะเข้าใจเรื่องประมาณการหนี้สินกันบ้างแล้วไม่มากก็น้อย แต่จะให้เข้าใจมากกว่านี้ เราลองมาดูตัวอย่างรายการต่อไปนี้กัน

กิจการให้บริการซ่อมเครื่องจักร และกิจการจะรับผิดชอบต้นทุนในการแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้น หลังจากการซ่อมเป็นเวลา 1 ปี โดยจากประสบการณ์ในอดีต กิจการต้องใช้ต้นทุนในการแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังการให้บริการทั้งหมดตลอดทั้งปี

ประมาณการหนี้สิน เป็นส่วนหนึ่งของหนี้สิน ที่จะแสดงในงบฐานะการเงิน หากไม่มีข้อมูลประมาณการหนี้สิน ผู้ใช้งบการเงินอาจเข้าใจผิดว่า กิจการนี้มีหนี้สินที่ต่ำ การวิเคราะห์งบ และการตัดสินใจจึงอาจผิดเพี้ยนได้

bottom of page